สังคมไทยกับอารมณ์โกรธ : สถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบันนั้นกำลังเข้าสู่ความตึงเครียดมากขึ้นทุกวัน แรงกดดันที่คนไทยทุกคนกำลังเผชิญอยู่นั้นดูเหมือนว่าจะมาจากทุกๆด้านของ ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชุมชนและปัญหาในครอบครัว
เมื่อเราต้องเผชิญกับแรงกดดันที่รุมเร้าในชีวิตนั้น แรงกดดันนี้ส่วนหนึ่งแสดงออกเป็นอารมณ์โกรธ การทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกายในที่ชุมชนสถาน บนท้องถนน แม้กระทั่งการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การต่อต้าน รวมถึงการฆ่าตัวตาย ?ซึ่งในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นถึง 60% เป็นข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต? ซึ่งส่วนหนึ่งรับผลกระทบจากอารมณ์โกรธทั้งทางตรงและทางอ้อม
พระคริสตธรรมคัมภีร์กับอารมณ์โกรธ : เรารู้ว่าอารมณ์โกรธนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งพระเจ้าทรงสร้างไว้ ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้พูดถึงความโกรธ 2 ประเภทคือ
1. การแสดงความโกรธอย่างถูกต้อง เช่น ความโกรธต่อความอยุติธรรมในสังคม การโกรธต่อการกระทำบาปของมนุษย์และไม่ยอมเลิกการกระทำของตนเอง ความโกรธของพ่อแม่ที่ลูกของตนกระทำสิ่งที่ผิดต่อพระเจ้าและชุมชน
2. ความโกรธเมื่อถูกขัดผลประโยชน์หรือถูกขัดใจ ซึ่งเป็นความโกรธที่เป็นบาป
นอกจากนี้พระคริสตธรรมคัมภีร์ยังได้สอนไว้ใน
(เอเฟซัส 4:26)พระคัมภีร์ไม่ได้ห้ามไม่ให้เราโกรธเพราะการโกรธเป็นพฤติกรรมทางอารมณ์ที่ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ (โกรธในสิ่งที่ถูกต้อง) แต่การจัดการกับการโกรธนั้นต่างหากที่สำคัญ กล่าวคือ โกรธได้แต่ให้มีการยับยั้งชั่งใจ อย่ากระทำบาปทะเลาะวิวาท อย่าให้ตะวันตกคือ ต้องมีการคืนดี ต้องคืนความสัมพันธ์ที่ดีเช่นเดิม อย่าให้ตะวันตกดิน อย่าให้มโนธรรมในจิตใจมืดดับลงจนให้ความบาปมืดทำงานส่งผลให้เราควบคุมตนเอง ไม่ได้ เช่น โกรธมากและตั้งใจจะแก้แค้นโดยการเอาคืน การทำร้ายการก่อวิวาท การฆ่ากันและกัน เป็นต้น
จะโกรธก็โกรธได้ แต่อย่าทำบาป อย่าให้ถึงตะวันตกท่านยังโกรธอยู่
เราจะจัดการกับอารมณ์โกรธได้อย่างไร
1.จัดการด้วยความเข้าใจ ในพระคัมภีร์ได้กล่าวว่า
(สุภาษิต 29:8)
คนมักเยาะเย้ยกระทำบ้านเมืองให้ลุกเป็นไฟ แต่ปราชญ์แปรความโกรธเกรี้ยวไปเสีย
(สุภาษิต 15:18)
คนใจร้อน เร้าการวิวาท แต่บุคคลผู้โกรธช้าก็ระงับการชิงดี
2.จัดการด้วยการมีความรักและความหวังในคำพูดเพื่อตั้งใจช่วยลดแรงตึงเครียด
(สุภาษิต15:1)
คำตอบอ่อนหวานช่วยละลายความโกรธเกรี้ยวให้หายไป แต่คำกักขฬะเร้าโทสะ
ผู้ที่เป็นปราชญ์ ที่ระงับความโกรธนั้นก็มีความเข้าใจ หรือกล่าวได้ว่าเป็นผู้ที่สามารถบริหารและจัดการกับความโกรธได้เป็นอย่างดี นั้นเอง ในปัจจุบันเรียกคนกลุ่มนี้ว่าผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์หรือมีอีคิว, (EQ) ที่ดี ซึ่งอีคิวหรือ E.Q มาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ คือความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และ มีความสุขนั้นเอง
3.จัดการด้วยการฟังที่ดีฟังด้วยความเข้าใจ และมีความยับยั้งชั่งใจ
(ยากอบ 1:19)
...จงให้ทุกคนไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ
การฟังเหตุฟังผลมากกว่าการแก้ตัวนั้นสำคัญ และการควบคุมตัวเองให้ได้นั้นก็สำคัญ และสิ่งสำคัญยิ่ง มีผู้ที่คอยช่วยเราคือพระวิญ
ญาณบริสุทธิ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงสถิตกับเรา และจะทรงช่วยเตือนและเปลี่ยนแปลงชีวิตเรา ดังที่พระเจ้าตรัสไว้ใน
(กาลาเทีย 5:22-23)
ฝ่ายผลของพระวิญญาณนั้นคือความรัก ความปลาบปลื้มใจ สันติสุข ความอดกลั้นใจ ความปรานี ความดี ความสัตย์ซื่อ ความสุภาพอ่อนน้อม การรู้จักบังคับตน เรื่องอย่างนี้ไม่มีธรรมบัญญัติห้ามไว้เลย
ในสังคมไทยต้องการบริหารจัดการอารมณ์โกรธในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม และระดับผู้นำของประเทศ สำหรับท่านทั้งหลายที่มีปัญหาเรื่องการจัดการกับความโกรธและอารมณ์ของตนเอง ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เกิดปัญหาในที่ทำงาน ในครอบครัวของท่านเอง และต้องการความช่วยเหลือเพื่อจะรับการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยของท่าน สามารถอธิษฐานขอการรับการเปลี่ยนแปลงจากองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ แล้วชีวิตของท่าน ครอบครัวของท่านจะได้รับการเปลี่ยนแปลงดังที่พระคัมภีร์สัญญาว่า
(2 โครินธ์ 5:17)
เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดที่เก่าๆก็ล่วงไป นี่แน่ะ กลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น
หรือท่านสามารถไปที่คริสตจักรและให้อาจารย์อธิษฐานเผื่อได้เช่นเดียวกัน
ขอพระพรอันดีเลิศประเสริฐขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพรมาเหนือทุกท่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น